วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 พื้นฐานเกี่ยวกับเซต


1.1 ความหมายของเซต 
เซต (Set) ในทางคณิตศาสตร์ เราใช้คำว่าเซตในความหมายของคำว่า กลุ่ม หมู่ เหล่า กอง ฝูง ชุด และเมื่อกล่าวถึงเซตของสิ่งใด ๆ จะทราบได้ทันทีว่าในเซตนั้นมีอะไรบ้าง เราเรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิก 
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซต ชื่อและสมาชิกของเซต 
1. สามารถใช้วงกลม, วงรี แทนเซตต่าง ๆ ได้ 
2. ชื่อเซตนิยมใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด เช่น A, B, C, ...
3. สัญลักษณ์ แทนคำว่า "เป็นสมาชิกของ" 
4. สัญลักษณ์ แทนคำว่า "ไม่เป็นสมาชิกของ" 
การเขียนเซตจำแนกได้ 2 แบบตามวิธีการเขียนสมาชิก 
1. การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก (Tubular form) มีหลักการเขียน ดังนี้ 
1. เขียนสมาชิกทั้งหมดในวงเล็บปีกกา 
2. สมาชิกแต่ละตัวคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
3. สมาชิกที่ซ้ำกันให้เขียนเพียงตัวเดียว 
4. ในกรณีที่จำนวนสมาชิกมาก ๆ ให้เขียนสมาชิกอย่างน้อย 3 ตัวแรก แล้วใช้จุด 3 จุด (Triple dot) แล้วจึงเขียนสมาชิก
ตัวอย่าง
ถ้าจะเขียนเซต B ที่เป็นเซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ จะเขียนได้เป็น

B = {วันอาทิตย์, วันจันทร์, วันอังคาร, วันพุธ, วันพฤหัสบดี, วันศุกร์, วันเสาร์}




2.วิธีบอกเงื่อนไขของสมาชิก (Set builder form) หลักการเขียนมีดังนี้ 
1. เขียนเซตด้วยวงเล็บปีกกา 
2. กำหนดตัวแปรแทนสมาชิกทั้งหมดตามด้วยเครื่องหมาย | (| อ่านว่า "โดยที")่ แล้วตามด้วยเงื่อนไขของตัวแปรนั้น ดังรูปแบบ {x | เงื่อนไขของ x}
ตัวอย่าง 
B เซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ เขียนได้เป็น

B = {x | x เป็นชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์}



จะมีค่าเท่ากับ B = {วันอาทิตย์, วันจันทร์, วันอังคาร, วันพุธ, วันพฤหัสบดี, วันศุกร์, วันเสาร์}
1.2 สมาชิกของเซต 
                ในการบอกข้อมูลใดเป็นสมาชิกของเซตจะมีการใช้สัญลักษณ์ แทนคำว่า "เป็นสมาชิกของ"สัญลักษณ์ แทนคำว่า "ไม่เป็นสมาชิกของ" เช่น 
B= {1, 2, 3, 4} จะได้ว่า
1.เป็นสมาชิกของ A    เขียนได้เป็น 1  A
2.เป็นสมาชิกของ A    เขียนได้เป็น 3  A
3.ไม่เป็นสมาชิกของ A    เขียนได้เป็น 5  A
1.3 ชนิดของเซต 
1. เซตว่าง (Empty Set) คือเซตที่ไม่มีสมาชิกเลย เขียนแทนด้วย { } หรือ 
2. เซตจำกัด (Finite Set) คือเซตที่สามารถบอกได้ว่ามีสมาชิกเป็นจำนวนเท่าใด 
3. เซตอนันต์ (Infinite Set) คือเซตที่ไม่ใช้เซตจำกัดหรือไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้ เช่น เซตของเลขจำนวนเต็ม เป็นต้น
1.4 การเท่ากันของเซต 
                เซตสองเซตจะเท่ากันก็ต่อเมื่อ เซตทั้งสองมีสมาชิกเท่ากันและเหมือนกันทุกตัวแบบตัวต่อตัว แต่จะไม่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังของสมาชิกของทั้งสองเซต การแสดงการเท่ากันของเซตจะใช้เครื่องหมายเท่ากัน”=” และใช้เครื่องหมายไม่เท่ากันแสดงความไม่เท่ากันของเซต 
1.5 สับเซต 
                ถ้าหากเซต A และเซต B เป็นเซตใดๆ แล้ว เซต A จะเป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อสมาชิกของ A ทุกตัวเป็นสมาชิกของ B โดยใช้สัญลักษณ์  แสดงสับเซต โดยถ้าเซต A เป็นสับเซตของเซต B จะเขียนได้เป็น ABและถ้าหากสมาชิกตัวใดของเซตA ไม่เป็นสมาชิกของเซต B หมายความว่าเซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B โดยใช้สัญลักษณ์  แสดงการไม่เป็นสับเซต 
สับเซตแท้ 
                ถ้าหากมีเซต A และเซต B เป็นเซตใด ๆ เซต A จะเป็นสับเซตแของเซต B ก็ต่อเมื่อเซต A เป็นสับเซตของเซต B โดยที่เซต A ไม่ต้องเท่ากับเซต B
1.6 การกระทำของเซต 
คือ การนำเซตหลาย ๆเซตมากระทำกันเพื่อให้เกิดเซตใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีอยู่ 3 วิธีคือ 
1. อินเตอร์เซคชัน 
ถ้าเซต  A และเซต B เป็นเซตจำกัดใดๆ อินเตอร์เซคชันของเซต A กับเซต B หมายถึงเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นทั้งของเซต A และเซต B สามารถเขียนสัญลักษณ์แทนอินเตอร์เซคชันระหว่างเซต A และเซต B ได้เป็น AB
2. ยูเนียน
ถ้าเซต  A และเซต B เป็นเซตจำกัดใดๆ ผลของการยูเนียนของเซต A และเซต B หมายถึงเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นทั้งของเซต A และเซต B สามารถเขียนสัญลักษณ์ผลการยูเนียนระหว่างเซต A และเซต B ได้เป็น A υ B
3.ผลต่างและคอมพลีเม้นต์
                ถ้าเซต  A และเซต B เป็นเซตจำกัดใดๆ ผลต่างของเซต A และเซต B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นของเซต A แต่ไม่เป็นสมาชิกของเซต B สามารถเขียนสัญลักษณ์ ได้เป็น A – B
1.7 จำนวนสมาชิกของเซต 
                จำนวนสมาชิกของเซตหาได้จาก 
1.n (       ) = n (A) + n (B) - n (  )

สรุปท้ายบท 
                โดยสรุปแล้วเซตเป็นการเรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เรากำลังสนใจ โดยเราเรียกสิ่งที่อยู่ในกลุ่มนั้นว่าสมาชิกของเซต การแบ่งชนิดของเซตตามจำนวนสมาชิกจึงแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ เซตว่าง เซตจำกัด และเซตอนันต์ ถ้ามีเซตหนึ่งที่สมาชิกทุกตัวซ้ำกับสมาชิกของเซตใด เราจะเรียกเซตว่าเป็นสับเซตของเซตนั้นๆ เซตทุกเซตสามารถนำมากระทำต่อกันเพื่อให้ได้เซตใหม่ขึ้นมาการกระทำนั้น ได้แก่ อินเตอร์เซคชัน ยูเนียน และผลต่างและคอมพลีเม้นต์ เป็นต้น

บทที่ 2 ตรรกศาสตร์


            ตรรกศาสตร์ ถือว่าเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการเรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และการเขียนโปรแกรม วิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลลัพธ์ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนด ข้อความหรือการใช้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนได้ ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
2.1ประพจน์ (Statement)
ประพจน์ คือ ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธที่เป็นจริงหรือเท็จเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ประโยคที่เป็นประพจน์ เช่น
1. 5 + 6 = 11
2. 3 < - 6
3. 10 เป็นคำตอบของสมการ x – 1 = 7
4. พ.ศ. 2550 เกิดน้ำท่วมโลก
5. มีจำนวนจริงบางจำนวน x - 5 = 8
6. 0 ไม่เป็นจำนวนคู่
ประโยคที่ไม่เป็นประพจน์ ได้แก่ ประโยคคำถาม ประโยคคำสั่ง ห้าม ขอร้อง อ้อนวอน ประโยคอุทาน ประโยคแสดงความรารถนา และสุภาษิต คำพังเพย เช่น
1. ขอให้โชคดี
2. กรุณาอย่าส่งเสียงดัง
3. 5 + 6 มีค่าเท่าใด
4. น้ำขึ้นให้รีบตัก
5. X < 5
6. ทรงพระเจริญ
7. เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย
8. อย่าเดินลัดสนาม
9. คุณพระช่วย

2.2 การเชื่อมประพจน์ 
                ตัวเชื่อมในทางตรรกศาสตร์สามารถนำมาใช้เชื่อมประพจน์ได้ ข้อความที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะมีประโยคบางประโยคซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อประโยคนั้น ๆ ถูกเชื่อมด้วยตัวเชื่อม การใช้ตัวเชื่อมนี้จะช่วยในการสร้างประโยคใหม่ ๆ ให้มีความหมายกว้างขวางขึ้นกว่าเดิมได้ เช่น ถ้าเรามีประโยค 2 ประโยคคือ 
                P แทน วันนี้อากาศร้อน 
                Q แทน วันนี้ฝนตก 
การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม และ
                ถ้า p และ q เป็นประพจน์ ผลลัพธ์ที่ได้จากการเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม และ จะเขียนแทนด้วย
“ p  q ” ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าความจริงเมื่อประพจน์ทั้งสองเป็นจริงทั้งคู่ 
ค่าความจริงของประพจน์  p    q เขียนแทนด้วยตาราง ดังนี้
การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม หรือ
                ถ้า p และ q เป็นประพจน์ และถูกเชื่อม หรือจะเรียกประพจน์ “p และ q”ว่าประพจน์แบบเลือก ของ p และ q เขียนแทนด้วย “p     q”  ถ้าหากประพจน์ทั้งสองมีค่าเป็นเท็จทั้งคู่ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเท็จ 
ค่าความจริงของประพจน์  p   q เขียนแทนด้วยตาราง ดังนี้

การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ถ้า...แล้ว
                ถ้า p และ q เป็นประพจน์ จะเรียกประพจน์ “p และ q” ว่าประพจน์แบบเงื่อนไข ของ p และ q เขียนแทนด้วย “p   q”  ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเท็จ ถ้าหาก p เป็นจริง และ q เป็นเท็จ 
 ค่าความจริงของประพจน์  p        q เขียนแทนด้วยตาราง ดังนี้
การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ก็ต่อเมื่อ 
        การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ" มีข้อตกลงว่า ประพจน์ใหม่จะเป็น จริงในกรณีที่ประพจน์ที่นำมาเชื่อมกันนั้นเป็นจริงกันทั้งคู่หรือเป็นเท็จด้วยกัน  ทั้งคู่เท่านั้นกรณีอื่นเป็นๆเท็จเสมอ ถ้า p และ q เป็นประพจน์ ประพจน์ใหม่ที่ ได้การเชื่อมด้วย ก็ต่อเมื่อคือ “p ก็ต่อเมื่อ q” เขียนแทนด้วย pq
ตารางค่าความจริงของ p q เขียนได้ดังนี้
นิเสธของประพจน์ 
                กำหนดให้ p เป็นประพจน์ นิเสธของประพจน์  p  เขียนแทนด้วย ~p  และตารางค่าความจริงของ ~p มีดังนี้
2.3 ค่าความจริงของประพจน์
                การหาค่าความจริงของประพจน์ที่ประกอบด้วยตัวเชื่อมหลายตัว สามารถทำได้โดยใช้ตารางความจริง การสร้างตารางค่าความจริงทำได้โดยเขียนค่าความจริงที่เป็นไปได้ในทุกกรณีของตัวแปรทุกตัวลงไป ถ้าหากประพจน์ใดมีวงเล็บประพจน์นั้นจะทำงานก่อน ถ้ามีนิเสธจะต้องทำประพจน์ที่มีนิเสธเป็นอันดับแรก 
2.4 ประโยคเปิด 
                ประโยคเปิดเป็นประโยคหรือข้อความที่อยู่ในรูปแบบประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ ที่มีตัวแปรและสื่อแทนค่าของตัวแปรนั้นอยู่ในประโยค และยังไม่ทราบค่าความจริง ถ้าหากทำการแทนค่าตัวแปรนั้นจะทำให้ได้ค่าความจริงแน่นอน 
สัญลักษณ์ นิยมใช้ P(x), P(x, y), Q(x, y) แทนประโยคเปิดที่มีตัวแปรระบุในวงเล็บ 
วลีบอกปริมาณ 
                คือคำบอกกล่าวกำหนดขีดจำกัดของปริมาณ หรือขอบเขตของตัวแปรในประโยคเปิด วลีบอกปริมาณ มี 2 แบบ คือ
1.       บอกปริมาณที่หมายถึงทั้งหมดของปริมาณหรือสมาชิก 
2.       บอกปริมาณบางส่วน 
สรุปท้ายบท 
                โดยสรุปแล้ว ตรรกศาสตร์ ถือว่าเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการเรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และการเขียนโปรแกรม วิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผลโดยใช้ประพจน์ซึ่งเป็นข้อความที่สามารถบอกค่าความจริงที่เป็นจริงหรือเท็จเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ในการแสดงเหตุผลตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้

บทที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์


3.1 ระบบตัวเลขในคอมพิวเตอร์ 
                เนื่องจากคอมพิวเตอร์ประมวลผลด้วยระบบดิจิตอล ดังนั้นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์จะประมวลผลจะถูกเก็บในรูปแบบของเลขฐานสอง โดยหน่วยที่เล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า บิต ระบบเลขฐานสองนี้จะมีค่าเป็นไปได้ 2 ค่า คือ 0 และ 1 ถ้าหากนำข้อมูล 0 และข้อมูล 1 หลาย ๆ บิตมาต่อเรียงกันจะทำให้สามารถนำมาแทนค่าข้อมูลได้ ดังนั้นเมื่อมีการเขียนโปรแกรมจะต้องพิจารณาด้วยว่าจะประกาศตัวแปรให้เป็นข้อมูลขนาดกี่บิตโดยควรทราบล่วงหน้าว่าข้อมูลที่จะเก็บอยู่ในช่วงใด 
3.2 การแทนค่าข้อมูลเลขจำนวนเต็ม 
                ปกติการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสองสถานะ คือ ปิด และ เปิด จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนสถานะทั้งสองและมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วย 0 และ 1 ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง 
             ตัวเลขแต่ละหลักของจำนวนในระบบเลขฐานสองเราเรียนกว่า บิต (Bit) ดังนั้นจำนวน 1011 จึงเป็นเลขฐานสองที่มีจำนวน 4 บิตการใช้เลขฐานสองมาแทนอักขระต่าง ๆ จะพบว่า ถ้าใช้ตัวเลขฐานสอง 1 บิต จะแทนข้อมูลได้ 2 แบบ คือ 0 และ 1 ถ้าใช้ตัวเลขฐานสอง 4 บิต จะแทนอักขระได้ทั้งหมด 16 แบบ
ตัวเลขแบบบิตเครื่องหมายขนาด 
                ตัวเลขแบบบิตเครื่องหมาย คือการคำนวณของตัวเลขดิจิตอลวิธีหนึ่ง ซึ่งในตัวเลขดิจิตอลนั้นอาจแบ่งส่วนประกอบออกได้เป็นสองส่วนด้วยกัน โดยในส่วนแรกนั้นจะเป็นส่วนที่เรียกว่า Magnitude หรือค่าขนาดของบิตตัวเลข มีตำแหน่งอยู่ที่สามนับจากขวา และส่วนที่สองจะเรียกว่า Signed Bit หรือค่าขนาดหนึ่งบิตแทนเครื่องหมายบวกหรือลบ หรือเรียกสั้นๆ ว่าบิตเครื่องหมาย โดยที่บิตเครื่องหมายนี้จะมีค่าเป็นบิตสูงสุด มีตำแหน่งอยู่หน้าสุด ดังนั้นในตัวเลขดิจิตอลหนึ่งตัวสามารถที่จะแทนได้ทั้งค่าบวกและค่าลบ ซึ่งถ้าบิตเครื่องหมายเป็น 0 ค่าของบิตสูงสุดจะมีค่าเป็นบวก แต่ถ้าบิตเครื่องหมายเป็น 1 ค่าของบิตสูงสุดจะมีค่าเป็นลบ ไม่ว่าบิตเครื่องหมายจะเป็น 0 หรือ 1 ก็ตามค่าขนาดของบิตจะเหมือนเดิม 
ตัวเลขแบบวันคอมพลีเมนต์ 
                การแทนค่าตัวเลขในระบบนี้จะคล้ายกับแบบบิตเครื่องหมายขนาดคือ ใช้บิตสูงสุดหนึ่งบิตเป็นบิตเครื่องหมาย ถ้าเป็น 0 หมายความว่าเป็นค่าบวก แต่ถ้าเป็น 1 หมายความว่าเป็นค่าลบ แต่จะต่างกันตรงที่ ถ้าหากเป็นตัวเลขค่าลบ ค่าของเลขฐานสองจะต้องกลับค่าบิตเป็นบิตตรงข้ามที่เรียกว่า การทำ 1’s Complement
ตัวเลขแบบทูคอมพลีเมนต์ 
                ตัวเลขแบบทูคอมพลีเมนต์ เป็นตัวเลขที่ใช้มากในการคำนวณของคอมพิวเตอร์ และการสร้างเครื่องคำนวณทางดิจิตอล ลักษณะของตัวเลขจะคล้ายกับตัวเลขแบบบิตเครื่องหมายขนาดคือใช้บิตสูงสุดเป็นบิตเครื่องหมาย บิตที่เหลือเป็นขนาดของตัวเลขแต่ถ้าค่าใดเป็นเลขลบจะกลับค่าทุกบิตเป็นลอจิกตรงกันข้ามแล้วบวกด้วย 1 เรียกว่า 2’s Complement
3.3 การแทนค่าข้อมูลเลขทศนิยม 
                นอกจากเลขจำนวนเต็มแล้ว การเก็บข้อมูลเลขทศนิยมของคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขฐานสองเช่นเดียวกัน ถ้าหากมีเลขจำนวนเต็มเลขฐานสิบเป็น 10.625 ตัวเลขนี้สามารถเก็บเป็นเลขฐานสองได้คือ 1.010101×23 การเก็บเลขทศนิยมของคอมพิวเตอร์นั้น จะแบ่งตัวเลขออกเป็นสามส่วน คือ ตัวเลขบอกเครื่องหมาย ตัวเลขบอกความละเอียดของตัวเลขเรียกว่า Fraction และตัวเลขชี้กำลัง
3.4 ตัวดำเนินการ 
                ตัวดำเนินการ(Operator) หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างนิพจน์ หรือตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป โดยที่ข้อมูลที่ถูกกระทำหรือตัวที่ถูกกระทำเราเรียกว่า โอปะแรนต์ (Operand)
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ 
                ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์(Arithmetic operator) หมายถึงเครื่องหมายการคำนวณในทางคณิตศาสตร์


ตัวดำเนินการเชิงเปรียบเทียบ(Comparison operator)
 หมายถึงเครื่องหมายในการเปรียบเทียบข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าตรรกบูลลีนเป็น จริง (True) และ เท็จ (False)
4. ตัวดำเนินการเชิงตรรก (Logical operator)เป็นเครื่องหมายที่ให้ค่าจริง (True) และเท็จ (False) ในการ
    เปรียบเทียบ ประกอบด้วยเครื่องหมาย 
3.5 นิพจน์ 
                นิพจน์ คือ ข้อความที่เขียนในรูปสัญลักษณ์ อาจเป็นนิพจน์ที่เป็นเอกนามหรือนิพจน์ที่ไม่เป็นเอกนามก็ได้ เช่น 4, 3x+2, a+b-c+3 
เอกนาม คือ จำนวนซึ่งเขียนในรูปผลคูณของค่าคงตัวและตัวแปรที่มีเลขชี้กำลังเป็นศูนย์หรือ จำนวนเต็มบวก นิพจน์ที่ไม่เป็นเอกนาม คือ นิพจน์ที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปร หรือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นจำนวนเต็มลบ 
ตัวแปร คือ ตัวอักษรที่ใช้เป็นจำนวนซึ่งไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นจำนวนอะไร สัมประสิทธิ์ของเอกนาม คือ ค่าคงตัวซึ่งเป็นตัวคูณกับตัวแปรของเอกนาม 
สรุปท้ายบท  
                โดยสรุปแล้ว คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลจะเก็บข้อมูลที่เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ที่อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสอง ดังนั้นการคำนวณของคอมพิวเตอร์จึงมีการแทนค่าข้อมูลด้วยเลขฐานสอง นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังสามารถนำข้อมูลมากระทำต่อกันด้วยตัวดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ หรือที่เรียกว่าการประมวลผล