วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 2 ตรรกศาสตร์


            ตรรกศาสตร์ ถือว่าเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการเรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และการเขียนโปรแกรม วิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลลัพธ์ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนด ข้อความหรือการใช้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนได้ ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
2.1ประพจน์ (Statement)
ประพจน์ คือ ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธที่เป็นจริงหรือเท็จเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ประโยคที่เป็นประพจน์ เช่น
1. 5 + 6 = 11
2. 3 < - 6
3. 10 เป็นคำตอบของสมการ x – 1 = 7
4. พ.ศ. 2550 เกิดน้ำท่วมโลก
5. มีจำนวนจริงบางจำนวน x - 5 = 8
6. 0 ไม่เป็นจำนวนคู่
ประโยคที่ไม่เป็นประพจน์ ได้แก่ ประโยคคำถาม ประโยคคำสั่ง ห้าม ขอร้อง อ้อนวอน ประโยคอุทาน ประโยคแสดงความรารถนา และสุภาษิต คำพังเพย เช่น
1. ขอให้โชคดี
2. กรุณาอย่าส่งเสียงดัง
3. 5 + 6 มีค่าเท่าใด
4. น้ำขึ้นให้รีบตัก
5. X < 5
6. ทรงพระเจริญ
7. เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย
8. อย่าเดินลัดสนาม
9. คุณพระช่วย

2.2 การเชื่อมประพจน์ 
                ตัวเชื่อมในทางตรรกศาสตร์สามารถนำมาใช้เชื่อมประพจน์ได้ ข้อความที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะมีประโยคบางประโยคซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อประโยคนั้น ๆ ถูกเชื่อมด้วยตัวเชื่อม การใช้ตัวเชื่อมนี้จะช่วยในการสร้างประโยคใหม่ ๆ ให้มีความหมายกว้างขวางขึ้นกว่าเดิมได้ เช่น ถ้าเรามีประโยค 2 ประโยคคือ 
                P แทน วันนี้อากาศร้อน 
                Q แทน วันนี้ฝนตก 
การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม และ
                ถ้า p และ q เป็นประพจน์ ผลลัพธ์ที่ได้จากการเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม และ จะเขียนแทนด้วย
“ p  q ” ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าความจริงเมื่อประพจน์ทั้งสองเป็นจริงทั้งคู่ 
ค่าความจริงของประพจน์  p    q เขียนแทนด้วยตาราง ดังนี้
การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม หรือ
                ถ้า p และ q เป็นประพจน์ และถูกเชื่อม หรือจะเรียกประพจน์ “p และ q”ว่าประพจน์แบบเลือก ของ p และ q เขียนแทนด้วย “p     q”  ถ้าหากประพจน์ทั้งสองมีค่าเป็นเท็จทั้งคู่ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเท็จ 
ค่าความจริงของประพจน์  p   q เขียนแทนด้วยตาราง ดังนี้

การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ถ้า...แล้ว
                ถ้า p และ q เป็นประพจน์ จะเรียกประพจน์ “p และ q” ว่าประพจน์แบบเงื่อนไข ของ p และ q เขียนแทนด้วย “p   q”  ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเท็จ ถ้าหาก p เป็นจริง และ q เป็นเท็จ 
 ค่าความจริงของประพจน์  p        q เขียนแทนด้วยตาราง ดังนี้
การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ก็ต่อเมื่อ 
        การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ" มีข้อตกลงว่า ประพจน์ใหม่จะเป็น จริงในกรณีที่ประพจน์ที่นำมาเชื่อมกันนั้นเป็นจริงกันทั้งคู่หรือเป็นเท็จด้วยกัน  ทั้งคู่เท่านั้นกรณีอื่นเป็นๆเท็จเสมอ ถ้า p และ q เป็นประพจน์ ประพจน์ใหม่ที่ ได้การเชื่อมด้วย ก็ต่อเมื่อคือ “p ก็ต่อเมื่อ q” เขียนแทนด้วย pq
ตารางค่าความจริงของ p q เขียนได้ดังนี้
นิเสธของประพจน์ 
                กำหนดให้ p เป็นประพจน์ นิเสธของประพจน์  p  เขียนแทนด้วย ~p  และตารางค่าความจริงของ ~p มีดังนี้
2.3 ค่าความจริงของประพจน์
                การหาค่าความจริงของประพจน์ที่ประกอบด้วยตัวเชื่อมหลายตัว สามารถทำได้โดยใช้ตารางความจริง การสร้างตารางค่าความจริงทำได้โดยเขียนค่าความจริงที่เป็นไปได้ในทุกกรณีของตัวแปรทุกตัวลงไป ถ้าหากประพจน์ใดมีวงเล็บประพจน์นั้นจะทำงานก่อน ถ้ามีนิเสธจะต้องทำประพจน์ที่มีนิเสธเป็นอันดับแรก 
2.4 ประโยคเปิด 
                ประโยคเปิดเป็นประโยคหรือข้อความที่อยู่ในรูปแบบประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ ที่มีตัวแปรและสื่อแทนค่าของตัวแปรนั้นอยู่ในประโยค และยังไม่ทราบค่าความจริง ถ้าหากทำการแทนค่าตัวแปรนั้นจะทำให้ได้ค่าความจริงแน่นอน 
สัญลักษณ์ นิยมใช้ P(x), P(x, y), Q(x, y) แทนประโยคเปิดที่มีตัวแปรระบุในวงเล็บ 
วลีบอกปริมาณ 
                คือคำบอกกล่าวกำหนดขีดจำกัดของปริมาณ หรือขอบเขตของตัวแปรในประโยคเปิด วลีบอกปริมาณ มี 2 แบบ คือ
1.       บอกปริมาณที่หมายถึงทั้งหมดของปริมาณหรือสมาชิก 
2.       บอกปริมาณบางส่วน 
สรุปท้ายบท 
                โดยสรุปแล้ว ตรรกศาสตร์ ถือว่าเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการเรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และการเขียนโปรแกรม วิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผลโดยใช้ประพจน์ซึ่งเป็นข้อความที่สามารถบอกค่าความจริงที่เป็นจริงหรือเท็จเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ในการแสดงเหตุผลตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น