วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 5 การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา


ขั้นตอนแรกของการพัฒนาโปรแกรมคือ การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อเป็นการพิจารณาว่างานที่ต้องการนั้น จะทำอะไร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร ใช้ข้อมูลใดเป็นอินพุต และมีวิธีการประมวลผลอย่างไร  โดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่คอมพิวเตอร์สามรถทำงานได้ตามที่ได้วางแผนไส้ด้วย การวิเคราะห์งานที่ถูกต้อง จะทำให้สามารถเขียนโปรแกรมได้เร็ว 
5.1 หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ปัญหา 
                ในการวิเคราะห์ปัญหานั้นมีประเด็นที่ต้องพิจารณาออกมาเป็นข้อ ๆ ดังนี้ 
ต้องการอะไร 
                จะต้องอธิบายว่าต้องการให้คอมพิวเตอร์นั้น ทำงานอะไร โดยอาจเป็นการเขียนออกมาเป็นข้อ ๆ  ก็ได้ 
ต้องการเอาต์พุตอย่างไร 
                จะต้องอธิบายถึงลักษณะของผลลัพธ์ที่ต้องการว่าต้องการอย่างไร อาจเป็นการแสดงออกทางจอภาพ แสดงออกทางเครื่องพิมพ์  หรือส่งเป็นเสียงออกทางลำโพง โดยต้องอธิบายรายละเอียดด้วย  เช่นถ้าต้องการแสดงให้แสดงทางจอภาพ หน้าแรกเป็นอย่างไร ตัวเลขที่แสดงเป็นทศนิยมกี่ตำแหน่ง แสดงเป็นตารางอย่างไร จะให้พิมพ์เลขหน้าหรือไม่ มีส่วนหัวหรือท้ายเอกสารหรือไม่
ข้อมูลเข้าเป็นอย่างไร 
                ส่วนนี้มักจะออกแบหลังจากได้ออกแบบส่วนแสดงผลไปแล้ว  โดยเมื่อทราบรูปแบบของผลลัพธ์แล้ว จะต้องมาดูว่าถ้าหากต้องการข้อมูลแบบที่ต้องการแล้วข้อมูลทางอินพุตควรเป็นอย่างไร ต้องการข้อมูลเท่าใด จึงประมวลผลมาได้เอาต์พุตแบบที่ต้องการ เป็นต้น 
วิธีการประมวลผลเป็นอย่างไร 
                อธิบายถึงลำดับขั้นตอนการประมวลผล วิธีการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยต้องพิจารณาว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่รับเข้าไปนั้น  จะต้องเก็บในตัวแปลกี่ตัว  เป็นตัวแปรประเภทใด การประมวลผลมีกี่ขั้นตอนกระทำกับตัวแปรนั้น ๆ อย่างไรบ้าง 
5.2 อัลกอริธึมกับการแก้ปัญหา 
                อัลกอริธึมเป็นการจัดลำดับความคิดออกมาเป็นขั้นตอน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสำหรับการเขียนโปรแกรม โดยจะแสดงลำดับของขั้นตอนเชิงคำนวณซึ่งแปลงข้อมูลขาเข้าของปัญหาที่กำลังพิจารณาไปเป็นผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  โดยขั้นตอนต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นจะต้องแปลไปเป็นคำสั่งของคอมพิวเตอร์ได้ อัลกอริธึมที่ทำงานได้ถูกต้องจะต้องแก้ไขปัญหาและหาคำตอบได้ทุกกรณี 
5.3 การทดสอบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา 
                หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือ ขั้นตอนสำหรับทดสอบว่าวิธีการแก้ปัญหาที่ได้สร้างขึ้นนั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่ ซึ่งทดสอบโดยการสมมติข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลอินพุตในการแก้ปัญหา  ในตอนการแก้ปัญหานี้ควรทดสอบกับข้อมูลหลาย  ๆ ชุด ถ้าหากทดสอบกับข้อมูลชุดเดียวแล้วทำงานถูกต้องต้องก็ไม่ได้หมายความว่าขั้นตอนการทำงานที่ออกแบบขึ้นทำงานได้อย่างถูกต้องแล้ว 
สรุปท้ายบท 
                โดยสรุปแล้ว การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา เริ่มต้นที่การวิเคราะห์ปัญหาก่อน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ว่า มีความต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไร มีผลลัพธ์การทำงานหรือเอาต์พุตเป็นอย่างไร มีข้อมูลเข้าเป็นอย่างไร และมีวิธีการประมวลผลอย่างไรเพื่อให้ได้เอาต์พุต จากนั้นจึงสร้างอัลกอริธึมขึ้นมา นั่นคือ จัดลำดับความคิดเป็นขั้นตอนเชิงการคำนวณในคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ โดยขั้นตอนที่ได้จะนำไปแปลงเป็นคำสั่งของคอมพิวเตอร์ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น